LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพฤหัสที่ 9 พฤษภาคม 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

บึงกาฬ หลายพื้นที่ร่วมทำบุญประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาวอีสานที่ปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็น เอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดารงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

วันนี้จะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ที่ชาวอีสานได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ  ว่าเป็นยังไงกันบ้าง ไปดูกันเลยย…
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า

อาทร          เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวัน แรม 14 ค่ำ เดือน 9 ของทุก ๆ ปี และในปีนี้ 2563 ประเพณีบุญข้าวประดับดินก็ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2563

ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาว หวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และห่อใส่เป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่ หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือ โบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญ หรืออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์นรกหรือเปรต อาทร

นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดินยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้ รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิวมื้อ อดมื้อ กินมื้อมาตลอดทั้งปี อีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นดินทำให้สัตว์เหล่านี้สามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ อาทร

ความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน

การทำบุญข้าวประดับดินที่เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ชาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิด เป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่ พระพุทธเจ้าแล้ว มิได้อุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียง มากรีดร้อง ให้ปรากฏใกล้ พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถาม พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้นการทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติ ผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุก ๆ ปี  และเป็นการรวมญาติพี่น้อง ที่อยู่ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ก็ต้องทางมาเพื่อตอบแทนบุญคุณ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อาทรพอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ อีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดินบุญเดือนเก้าแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อาศัยในพื้นที่ภาคอีสาน คงต้องอนุรักษ์ประเพณี บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน ได้สืบทอดต่อ ๆ ไป ไม่มีวันจางหาย

บุญข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการทําบุญให้ญาติผู้ล่วงลับ โดยการนําข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อกลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวค่ำ ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะนําห่ออาหารและหมากพลูไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบๆ วัด เพื่อให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ รวมทั้งผีไร้ญาติอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าจะมาเยี่ยมญาติพี่น้องในเวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิวโหย นอกจากจะเป็น การทําบุญและทําทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย
.
มูลเหตุของพิธีกรรม
.
คนลาวและไทยอีสานมีความเชื่อสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลว่ากลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิดในรอบปี ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วพิธีกรรมตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำเดือนเก้า แม่บ้านแม่เรือนทุกครัวเรือนจะ “ห่อข้าวน้อย” ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดกว้างเท่ากับหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซี่ของใบกล้วย นําเอาข้าวเหนียวนึ่งสุก แล้วป่นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ วางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา ไก่ หมู ใส่ลงไปอย่างละเล็กน้อย (ถือว่าเป็นอาหารคาว) แล้วใส่น้ำอ้อยกล้วยสุก มะละกอสุกหรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไปอีกนิด (ถือว่าเป็นของหวาน) จากนั้นใส่หมากหนึ่งคํา บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคํา แล้วจึงห่อใบตองเข้าหากัน โดยใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อยที่มีลักษณะยาวๆ (คล้ายห่อ ข้าวเหนียวปิ้ง) สําหรับจํานวนของ ห่อข้าวน้อยนี้ก็ควรจะให้มีมากกว่าจํานวนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งนี้ เพราะจะต้องมีจํานวนหนึ่งเผื่อผีไม่มีญาติด้วย ครั้นถึงเวลาประมาณ 03.00-04.00 น. ของวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าพวกผู้ใหญ่ในแต่ละครัวเรือนจะนําเอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด ตามดิน ริมกําแพงวัดบ้าง ริมโบสถ์ริมเจดีย์ในวัดบ้าง การนําเอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ในวัดนี้เรียกว่า #การยายห่อข้าวน้อย ซึ่งจะพากันทําเงียบๆ ไม่มีฆ้องกลองแห่แต่อย่างใด หลังจากยายห่อข้าวน้อยเสร็จแล้ว จะกลับบ้านเตรียมหุงหาอาหารในตอนรุ่งเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ซึ่งญาติโยมทุกครัวเรือน จะนําข้าวปลาอาหารไปทําบุญตักบาตรเลี้ยงพระ จากนั้นพระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดิบดินให้ฟังญาติโยม ถวายจตุปัจจัยไทยทาน พระสงฆ์ให้พรญาติโยมกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ญาติผู้ล่วงลับ

 ‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด