LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2024
ข่าวสังคม-การเมือง

จ.บึงกาฬ รมว.อุดมศึกษาตรวจเยี่ยมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ

วันที่ 5 มี.ค. เวลา 13.00 น. ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่วัดถ้ำศรีชมภู ต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ ตรวจเยี่ยมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)พื้นที่จังหวัดบึงกาฬ พร้อมพบปะและให้แนวทางการดำเนินโครงการ U2T แก่คณะดำเนินงานในพื้นที่ตำบลถ้ำเจริญ พร้อมดำเนินกิจกรรม U2T Online Series Ep.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ U2T ระหว่างรัฐมนตรีฯ ผู้บริหาร อว. มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จ้างงาน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อว.ส่วนหน้า จังหวัดบึงกาฬ และมอบนโยบาย U2T กับการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากนั้นเยี่ยมชมนิทรรศการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนก่อนเดินทางกลับ

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ตำบลถ้ำเจริญ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ข้อมูลเบื้องต้นชุมชนตำบลถ้้ำเจริญ พื้นเพเดิมเป็นกลุ่มชาติภูไท ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดสกลนคร หางจากที่ว่าการอำเภอโซ่พิสัยประมาณ 15กิโลเมตร ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 30,112 ไร่ หรือ 48 ตร.กม. มีจำนวนประชากรทั้งหมด 9,133 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,844 ครัวเรือน ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก สถานที่สำคัญและถือเป็นแหล่งรวมใจของคนถ้้ำเจริญ คือวัดถ้้ำศรีชมภู ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในพื้นที่ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอโซ่พิสัย โดยภายในวัด มีรอยพระพุทธบาท พระเจ้าสามองค์ ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้

นอกจากนี้ ภายในวัดเองยังมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์คือ ลานพระเวด ที่มีหินขนาดใหญ่ มีลวดลายคลายเกล็ดพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ไว้อย่างอุดมสมบูรณ์

อาชีพหลักในชุมชนคือการทำเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกสวนยาง การทำนำ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอาชีพเสริม คือการทอผ้าและจักสาน ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งต่อผ่านรุ่นสู่รุ่น โดยเป็นการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชนไว้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ ขนมปั้นขลิบ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และยกระดับเศรษฐกิจชุมชน การต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เห็นศักยภาพของผู้นาชุมชน และชุมชนที่มีความเข้มแข็ง และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทหัตถกรรม (การทอผ้าทอมือ) และผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมปั้นขลิบ จึงได้ดำเนินโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

โดยได้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.การสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาผ้ำทอมือกลุ่มผ้ำทอสาวภูไท

1.1) จัดกิจกรรมพัฒนาผ้าอิสานด้วยการย้อมครามและสีธรรมชาติจากดอกดาวเรือง

1.2) การออกแบบดอกดาวเรือง/ลายดอกลายลูกยางนา(หมากปิ่น) ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

1.3) การออกแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่มผ้าทอมืออิสาน

1.4) การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจากฝ้ายธรรมชาติ การทอผ้าทอมือ

โดยส่งเสริมให้ปลูกฝ้ายธรรมชาติ เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตโดยใช้เส้นใยจากฝ้ายธรรมชาติ และพัฒนาศักยภาพการผลิตผ้าทอมือ โดยจัดกิจกรรมการฝึกอบรม การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอมือ การออกแบบลายที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับพื้นฐานและท้องถิ่น

2. การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มขนมปั้นขลิบ การดำเนินงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนได้แก่

1.พัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้ขนมปั้นขลิบ จำนวน 2 ไส้ ได้แก่ ไส้ปลาและไส้เห็ด

2.พัฒนาตราสินค้า สลากสินค้า บรรจุภัณฑ์

3.ส่งเสริมการตลาดและช่องทางการตลาด ได้แก่ อบรมพัฒนาตลาดออนไลน์

4.อบรมการคำนวนต้นทุนผลิตภัณฑ์ การต่อยอดนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ภายใต้การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่ชุมชน ได้เรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดนิทรรศการแสดงสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทหัตถกรรม (ผ้าทอมือ) และผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมปั้นขลิบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชนและท้องถิ่นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและการเผยแพร่สินค้าชุมชนให้ผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้สืบทอดภูมิปัญญาเพื่อความวัฒนาถาวร

นางจิรพัฒน์ ศรีกำพล ตัวแทนจากกลุ่มทอผ้าสาวอุไทบ้านถ้ำเจริญ เดิมทีเราก็ทอผ้าอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้เป็นกลุ่ม คือทอผ้าอยู่ที่บ้าน ช่วงหนึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร เข้ามาดูแลมาส่งเสริมเรื่องการทอผ้า เขาถามเราว่าอยากทอผ้าอะไรจะทอสีจากอะไร เราก็เลยบอกว่าเราอยากทอสีจากธรรมชาติ ทางราชภัฏก็ถามว่าแล้วในบ้านเรามีวัตถุดิบอะไรที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นเราอยู่แล้ว เราก็เลยเล็งเห็นดอกดาวเรืองที่อยู่วัดถ้ำศรีชมพู คือมีสาธุชนมากราบไหว้เยอะ ในทุกวันพระจะมีการทำบายศรีมาถวาย แล้วจะดอกไม้โดยเฉพาะดอกดาวเรืองเหลือเยอะมากทางราชภัฎก็เลยมาช่วยสนับสนุนการย้อมสีจากดอกดาวเรืองให้ได้สีเหลือง เวลาเอาไปทอผ้าแล้วใครที่ได้สวมใส่ก็จะเป็นศิริมงคลด้วย เพราะดอกดาวเรืองที่เอามาย้อมสีนั้นได้ถวายให้พระแล้ว แล้วนำมาใช้ย้อมสีเพื่อไม่ให้ดอกดาวเรืองเสียเปล่า ให้ใช้ประโยชน์ได้ จนเป็นที่มาสู่สโลแกนมีที่ว่า “จากศรัทธา สู่ผืนผ้าที่สวยงาม และเป็นศิริมงคล”เชื่อว่าคนที่ได้สวมใส่ผ้าทอที่ย้อมสีจากดาวเรือง ทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง เหมือนดอกดาวเรือง นอกจากนั้นยังมีสีอื่นที่อีกมากมายที่กำลังทำอยู่ ผลิตภัณฑ์ที่มีก็จะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ที่สำคัญมีเด็กๆจาก U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ มาช่วยเรื่องการขาย โดยเฉพาะการขายออนไลน์ การทำสีที่ได้มาตรฐาน มีความสมดุลและสม่ำเสมอ

สำหรับประโยชน์ของการทำสีย้อมผ้าจากดาวเรือง คนที่ได้สวมใส่จะไม่แพ้ ไม่คัน เพราะไม่ได้ใส่ปุ๋ยใส่สารเคมี ต่างจากสีเคมี ปลูกก็ง่ายตามไร่ตามนาร่องสวนได้หมด ที่สำคัญดอกดาวเรืองที่ถวายพระแล้วไม่เอาไปทิ้งเหมือนทั่วๆไป สามารถใช้ได้ทั้งแบบแห้งและสด สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ปลูกดาวเรืองได้ด้วย โดยการเอามาขายให้กับกลุ่มทอผ้าของเรา ซึ่งเราก็รับซื้อเหมือกัน ซึ่งก็ได้ประโยชน์หลายทาง

 

 ‘>

ข่าวสังคม-การเมือง ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด