LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024
ท่องเที่ยว

ข้อมูลจังหวัดบึงกาฬที่77

854_1_269X722
จังหวัด บึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๗๕๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ๔,๓๐๕ ตารางกิโลเมตร

เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก ภูเขา

และ มีพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ อำเภอ

ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอศรีวิไล

อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้าจังหวัดบึงกาฬ

เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2537 แต่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในขณะนั้น

และได้มีการนำเข้าการพิจารณาอีกครั้ง โดยผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

ในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

และออกเป็นพระราชบัญญัติในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔

สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์      อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่      แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง

สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว      หาดทรายขาวเป็นสง่า       น่าทัศนาแก่งอาฮง

งามน้ำโขงที่บึงกาฬ       สุขสำราญที่ได้ยล

แรกเริ่มจังหวัดบึงกาฬเป็นตำบลอยู่ในเขตการของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ต่อมาราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอชัยบุรี (ปากแม่น้ำสงคราม)มาตั้งบ้านบึงกาญจน์ (ริมฝั่งแม่น้ำโขง) ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้สร้างที่ว่าการอำเภอชัยบุรีขึ้นใหม่ และโอนการปกครองมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ.2459 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบึงกาญจน์ เมื่อปี2475 และในปี2477 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบึงกาฬ มี ร.อ.ท.พระบริบาลศุภกิจ ( คำสวย ศิริขันธ์ ) เป็นนายอำเภอคนแรก(ชัยบุรีเดิม) เมื่อปี พ.ศ. 2459 และนายเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์

ต่อมา พ.ศ. 2537 ได้มีการเสนอให้อำเภอบึงกาฬยกขึ้นเป็นจังหวัดโดยนาย สุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัด โดยให้แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบ จนกระทั่งพ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยมีผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคาย ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ดังนั้นในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และมีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554

วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง )

วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ ต.ไคสี อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ห่างจาก อ.บึงกาฬ 21 กม. เป็นวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง บริเวณหน้าวัดจะมีแอ่งที่มักจะเกิดกระแสน้ำวน โดยน้ำจะไหลวนจนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อยวของสายน้ำ จะเกิดขึ้นทั้งกลางวันกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงน้ำหลาก โดยเชื่อกันว่าเป็นจุดที่ลึกที่สุดในแม่น้ำโขง หรือที่เรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ยิ่งน้ำไหลเชี่ยวมากเท่าไร หลุมรูปกรวยยิ่งเป็นหลุมลึกและมีขนาดใหญ่ พร้อมกับมีเสียงดังคล้ายกระแสน้ำไหลเซาะโขดหิน ตรงจุดที่ลึกที่สุดมีถ้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะไปทะลุถึงที่ฝั่งลาว บริเวณด้านหลังภูงูในประเทศลาว ชาวบ้านเชื่อกันว่าสะดือแม่น้ำโขงนี้เป็นเมืองของพญานาค


วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่)

ที่ตั้งบ้านท่าไคร้ หมู่ 5 ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 5 กิโลเมตร หลวงพ่อพระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูนหน้าตักกว้าง 2 เมตร จากฐานถึงยอดพระเกศสูง 2.10 เมตร จากพระฌานุ (เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก ประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 นี้มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา ว่า ประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้ว ได้มีชาวบ้านอพยพครอบครัวมาจากเมืองยศ (บริเวณจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขง จากนั้นค่อยๆร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอบึงกาฬ) เมื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมได้แล้วก็จัดการถางพงที่รกทึบ จนได้พบพระพุทธรูปที่ถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์ จึงช่วยกันนำเถาวัลย์ออก ก็พบว่าพระเกตุมาลาหัก ทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่าง ซึ่งก็คือหลวงพ่อพระใหญ่องค์ปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยเคลื่อนย้ายไปไหนตั้งแต่มีการค้นพบ เพียงแต่มีการต่อเติมพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม และมีการสร้างแท่นที่ประดิษฐานโอบของเดิมเอาไว้เพื่อความแข็งแรงทุกวันนี้จะมีการจัดงานประจำปีที่ทำเพื่อสักการะแด่หลวงพ่อพระใหญ่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ วันเพ็ญเดือน 3 จะทำบุญข้าวจี่ พร้อมถวายปราสาทผึ้ง 2 หลัง ครั้งที่สอง ทำในเทศกาลวันสงกรานต์ มีการสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ ซึ่งจะเป็นงานใหญ่ประจำปี


ศาลเจ้าแม่สองนาง 

ด้วยความที่เป็นพื้นที่ติดลำน้ำโขง นอกจากจะได้ใช้ประโยชน์จากสายน้ำมาเป็นเวลานาน คนสองฝั่งโขงก็ยังมีความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับแม่น้ำด้วยเช่นกัน อย่างเช่นการที่แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตในน้ำโขงเป็นจำนวนไม่น้อย คนเฒ่าคนแก่เชื่อว่าพวกที่เสียชีวิตในลำน้ำโขงเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ และเทพเจ้าทางน้ำที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือก็คือ “เจ้าแม่สองนาง” (งู 1 คู่ อาจเป็น งู เงือก และพญานาคเป็นสิ่งเดียวกัน) ดังนั้นเพื่อลดการสูญเสียของผู้คน และเป็นการขอให้เจ้าแม่ช่วยปกป้อง รวมถึงเสริมสิริมงคล ชาวบ้านจะมีการเซ่นไหว้และบวงสรวง และในแถบลุ่มน้ำโขงทั้งสองฟากฝั่งเราก็จะเห็นการตั้งศาลเจ้าแม่สองนางอยู่หลายที่ เช่น ศาลเจ้าแม่สองนาง อำเภอเมืองหนองคาย ที่วัดหายโศก ศาลเจ้าแม่สองนาง อำเภอโพนพิสัย ที่ปากห้วยหลวง ศาลเจ้าแม่สองนางที่บ้านจอมนาง ศาลเจ้าแม่สองนางที่อำเภอบึงกาฬหน้าโรงพยาบาลบึงกาฬ


หนองกุดทิง 

เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีความกว้างโดยเฉลี่ย 22,000 ไร่ ลึก 5 – 10 เมตร ที่นี่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ ปลาที่ไม่มีที่ใดในโลก 20 สายพันธ์ พืชน้ำกว่า 200 ชนิด มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า 40 ชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลกแห่งที่สองของจังหวัดหนองคาย ภายในบริเวณหนองกุดทิงจะมีสถานที่อนุรักษ์ที่ไม่ให้คนผ่านเข้าไปจับสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด จำนวนมากกว่า 5 แห่ง จึงทำให้มีนกและสัตว์น้ำอาศัยอยู่เพื่อเพาะพันธุ์มากมายตลอดทั้งปี  พื้นที่กุดทิงเชื่อมต่อแม่น้ำโขงทำให้พื้นที่มีความหลากหลายของสังคมพืชน้ำและชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ พบพันธุ์ปลาน้ำจืดถึง  123 ชนิด ในจำนวนนี้มีปลาประจำถิ่นและปลาอพยพที่มาจากแม่น้ำโขง มากกว่า  56 ชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจ มีปลาซิวแคระ พันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ   3 ของโลก และเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เล็กที่สุดของไทย ทั้งยังพบปลาที่อยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการคุกคามคือปลายี่สกหรือปลาเอิน รวมถึงการพบปลาประจำถิ่นแม่น้ำโขง คือ ปลาบู่กุดทิง ปลาบู่แคระ ปลาซิวแก้ว ปลาซิวหางกรรไกรเล็ก ปลากัดอีสาน ปลาปักเป้าควาย ปลาสร้อยปีกแดง และปลาเหล็กใน  กุดทิงยังเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของกุ้งน้ำจืด  3 ชนิด คือ กุ้งฝอยเล็ก กุ้งฝอยใหญ่ และกุ้งฝอยแดง ชาวกุดทิงจะจับมากินภายในครัวเรือน เหลือจะขายในตลาดท้องถิ่น ส่วนการสำรวจพืชน้ำพบทั้งหมด   80 ชนิด และเป็นชนิดใหม่ของโลก คือต้นเล็บม้าและสาหร่ายข้าวเหนียวดอกเหลือง พรรณไม้เด่นที่พบมีทั้งกกสามเหลี่ยมหรือผือสาหร่ายเทปยักษ์และสาหร่ายข้าวเหนียวดอกเหลือง  กุดทิงเป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพและนกประจำถิ่นหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นนกเป็ดน้ำ เหยี่ยว และนกน้ำอื่น ๆ อีกมากกว่า   100 ชนิด ที่พบมากได้แก่ นกเป็ดแดง ยังมีรายงานการพบนกที่หายากและอยู่ในสถานภาพถูกคุกคามของโลก ได้แก่ เป็ดลาย นกเป็ดหัวดำรวมถึงเหยี่ยวหาดูได้ยากอีก  2 ชนิด คือ เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ และเหยี่ยวทุ่งพันธุ์ยุโรป


ภูทอก

คำนี้ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ตั้งอยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย เดิมเคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม


ภูทอกน้อย

เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลานานถึง 5 ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระ ผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่ บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น คือ ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้ เป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองลงไปจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชัน มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม สิ่งสำคัญภูทอก ปิดบริการไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นทุกวันที่ 10 – 16 เมษายน ของทุกปี


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

ตั้งอยู่บ้านดอนจิก เลยอำเภอบุ่งคล้า 3 กิโลเมตรและเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ  6กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ  150-300เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ภายในบริเวณมีหลายจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณบ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น ตามทางหลวงหมายเลข   212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ  4กิโลเมตร รอบ ๆ ที่นี่เป็นป่าโปร่ง ทิวทัศน์สวยงามอยู่ทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน สายน้ำตกเกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี น้ำตกภูถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอเซกาประมาณ   34 กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน เป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ เงียบสงบและร่มรื่น เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะพบหุบเขารูปแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ  200 ตารางเมตร มีสายธารน้ำตกไหลมายังก้นอ่างที่เบื้องล่าง บริเวณน้ำตกเป็นผากว้างราว 100 เมตร สูง 50 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ น้ำตกชะแนน ตั้งอยู่บ้านภูเงิน อำเภอเซกา เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า “ที่ซึ่งมีน้ำไหล” สะแนน มีความหมายว่า “สูงสุดยอด” หรือ “เยี่ยมยอด” สายน้ำตกเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น ๒ ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึ่งน้ำจะลอดหายไปใต้สะพานหินที่มีความยาวประมาณ  100 เมตร ก่อนขึ้นสู่ชั้นที่สองจะผ่านแนวลำธารที่เต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ ทะลุออกที่ลานกว้างริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำขึ้นไปก็เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ ตกลงมาสู่แอ่ง เรียกกันว่า น้ำตกบึงจระเข้ น้ำตกสะอาม เป็นน้ำตกใหญ่และสวยงามอีกแห่งหนึ่งอยู่ด้านตะวันตกของภูวัว อยู่ที่ ตำบลโพหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง บริเวณน้ำตกมีแนวสันภูเป็นผาหินกับลานหินที่แปลกตา เป็นระยะทาง 3-5 กิโลเมตร จากลานหินบนสันภูมองเห็นทิวทัศน์ภูวัวด้านตะวันตกได้ตลอดแนว


ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

เป็นพื้นที่ป่าภูทอกน้อย บ้านภูสวาท หมู่ 6 ต.หนองเดิ่น อ.บุ่งคล้า มีพ้นที่ป่าจำนวน 2,115ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ป่าฟื้นฟูจำนวน 1,150 ไร่ ปลูกพืชสมุนไพรกว่า 100 ชนิด มีการค้นพบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกในบริเวณนี้ โดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม นักพฤกษศาสตร์กรมป่าไม้ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกให้เป็นชื่อ Bauhinia Sirindhornlae ในศูนย์อนุรักษ์ฯยังมีพันธุ์กล้วยไม้มากมายหลายชนิด เช่น ดอกคูลูนางอั้ว ดอกผึ้ง ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ สิงโตกรอกตา กล้วยไม้ดิน เช่น ดุสิตา (ดอกขมิ้น)สร้อยสุวรรณา( หญ้าสีทอง)เอื้องหมายนา (ม้าวิ่ง) และยังมีสัตว์ป่าเข้ามาอยู่อาศัย เช่นไก่ป่า หมูป่า เก้ง กระต่าย เม่นกระจง กระรอกเผือก กระรอกดำ กระแต นกเป็ดน้ำ และนกหลายชนิด ที่นี่จึงมีการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อันเนื่องจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไว้ให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษาอีกด้วย


หาดสีดา

อยู่ที่บ้านหนองเดิ่นท่า ตำบลหนองเดิ่น ที่นี่เป็นหาดทรายยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 2.5กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาวสะอาด สวยงาม เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ กลางลำน้ำโขงตรงข้ามกับหาดทรายจะมีแนวโขดหินเป็นแนวยาว ทำให้บริเวณดังกล่าวมีน้ำไหลเชี่ยวมาก นอกจากนี้ยังมีทัศนียภาพของทิวเขาภูงู ทางฝั่งลาวที่ทอดยาวไปตามลำน้ำโขงให้ชื่นชม สำหรับชาวอำเภอบุ่งคล้า ยังให้หาดสีดาเป็นแหล่งอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทย โดยจะมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ของชาวอำเภอบุ่งคล้าทุกปี ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน จะมีพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และบุคคลที่สำคัญของอำเภอ


บึงโขงหลง

เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 8,064ไร่ เมื่อปี พ.ศ 2520พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาจัดทำเป็นโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 และได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี พ.ศ. 2525 บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ 1,098 ของโลก ในปี พ.ศ. 2544 มีพื้นที่กว่า 22 ตารางกิโลเมตร ยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2กิโลเมตร ความพิเศษของที่นี่คือเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชาติ เช่น นกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก มีปลาชนิดที่หาดูได้ยาก คือ ปลาบู่แคระ

เลขที่ 16/5 ถ.มุขมนตรี ต.หมากแข้ง อ.เมืองฯ จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ 0 4232 5406-7 โทรสาร 0 4232 5408 E-mail : tatudon@tat.or.th

สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 042-492464

ตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ 0-4249-2834
สถานีตำรวจภูธรเมืองบึงกาฬ 0-4249-1256
สถานีตำรวจภูธรเซกา 0-4248-9113
สถานีตำรวจภูธรพรเจริญ 0-4248-7119
สถานีตำรวจภูธรโซ่พิสัย 0-4248-5034
สถานีตำรวจภูธรปากคาด 0-4248-1115
สถานีตำรวจภูธรบึงโขงหลง 0-4241-6207
สถานีตำรวจภูธรศรีวิไล 0-4249-7078
สถานีตำรวจภูธรบุ่งคล้า 0-4249-9004
สถานีตำรวจภูธรดอนหญ้านาง 0-4202-0503
สถานีตำรวจภูธรหอคำ 0-4202-5001
สถานีตำรวจภูธรเหล่าหลวง 0-4202-2046
สถานีตำรวจภูธรโสกก่าม 0-4249-0840
สถานีตำรวจภูธรป่งไฮ 0-4290-1113
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดบึงกาฬ 0-4249-1832
กองบังคับการตำรวจน้ำ 0-4249-1276
กองร้อยตำรวจตระเวณชายแดนที่ 244 บึงกาฬ 08-0813-7060
ตำรวจสันติบาล 0-4249-1840
ตำรวจทางหลวงบึงกาฬ 0-4249-2274
กองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดบึงกาฬ 08-5139-6275

โรงพยาบาลบึงกาฬ 0-4249-1161 ถึง 3
โรงพยาบาลพรเจริญ 0-4248-7099
โรงพยาบาลโซ่พิสัย 0-4248-5100
โรงพยาบาลเซกา 0-4248-9699
โรงพยาบาลปากคาด 0-4248-1101
โรงพยาบาลบึงโขงหลง 0-4241-6180 ,0-4241-6181
โรงพยาบาลศรีวิไล 0-4249-7099 ต่อ 101
โรงพยาบาลบุ่งคล้า 0-4249-9106

สานักงานขนส่ง จังหวัดบึงกาฬ 0-4249-1245

ที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ 0-4249-1797
ที่ว่าการอำเภอเซกา 0-4248-9153
ที่ว่าการอำเภอพรเจริญ 0-4248-7060
ที่ว่าการอำเภอโซ่พิสัย 0-4248-5060
ที่ว่าการอำเภอปากคาด 0-4248-1060
ที่ว่าการอำเภอบึงโขงหลง 0-4241-6167
ที่ว่าการอำเภอศรีวิไล 0-4249-7060
ที่ว่าการอำเภอบุ่งคล้า 0-4249-9077

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบึงกาฬ 0-4249-0953-5, 0-4249-0957
สำนักงานประปาส่วนภูมิภาคบึงกาฬ 0-4249-1186

‘>

ท่องเที่ยว ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด