LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 24 เมษายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

เชื่อหรือไม่! บึงกาฬ ฝนตกตลอดทั้งเดือน นาล่ม-น้ำโขงจ่อล้น

EyWwB5WU57MYnKOuXuT0RqV9U6NPPgPLp5kDoDz655vA7oDwYjz45d

เดือดร้อนไม่สิ้นสุด ชาวนาที่บึงกาฬต้องผจญกับน้ำท่วมหลังมีฝนตกต่อเนื่องทั้งเดือน สรุปว่ายังทำนาไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้แล้งหนัก สวนยางก็กรีดไม่ได้ ปาล์มส่อยืนต้นตาย แม่น้ำโขงจ่อล้นตลิ่ง สรุปพื้นที่เกษตรเสียหายแล้วกว่า 7.5 หมื่นไร่…

เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่มีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องตลอด 1 เดือนที่ผ่านมาใน จ.บึงกาฬ ทำให้มีมวลน้ำสะสมในปริมาณมาก ส่งผลต่อความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะชาวสวนยางพารา ที่ไม่สามารถกรีดได้เลย เพราะหน้ายางเปียกชื้น ส่วนข้าวนาหว่านที่เพิ่งได้รับน้ำฝนหลังจากแห้งแล้งมานาน ต้นข้าวยังอ่อน ถ้าหากน้ำยังไม่ลดลงภายใน 2-3 วันนี้ข้าวจะเน่าตายอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ชาวนาที่ทำข้าวนาหว่านมีอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นนาดำ ต้นกล้าที่เตรียมไว้ก็ตายหมดแล้วจากความแห้งแล้งในช่วงที่ผ่านมา จะหว่านกล้ารอบใหม่น้ำก็ยังไม่ลด กล้าที่พอมีอยู่ก็ดำนาไม่ได้เพราะน้ำยังท่วม

ขณะที่แม่น้ำโขงระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ (4 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 12.05 เมตร ส่วนระดับที่วิกฤติอยู่ที่ 13.60 เมตร และมีผลทำให้น้ำในแม่น้ำโขงไหลเข้าหนุนแม่น้ำสาขา ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ต.วิศิษฐ์ ต.บึงกาฬ ต.โคกก่อง ต.ชัยพร อ.เมืองบึงกาฬ และอีก 3 อำเภอที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงคือ อ.ปากคาด บุ่งคล้าและบึงโขงหลง ถูกน้ำท่วมมานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว เกษตรกรหวั่นเกรงว่า หากน้ำยังไม่ลดลงมีหวังต้นข้าว ยางพารา และปาล์ม ต้องยืนต้นตายเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน

ส่วนที่หน้าวัดป่าบ้านพันลำ ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ ที่เป็นทางผ่านไปยังด่านศุลกากรบึงกาฬแห่งใหม่ มีรถบรรทุกสินค้าผ่านแดนจำนวนมาก ไม่สามารถผ่านไปได้ เพราะน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ส่งผลกระทบทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ต้องล่าช้า เพราะรถสินค้าต้องอ้อมไปใช้อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งไกลกว่าเดิมกว่า 10 กิโลเมตร

ล่าสุด จากการสำรวจของสำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ สรุปข้อมูลพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ส.ค. 58) จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองบึงกาฬ โซ่พิสัย ปากคาด บึงโขงหลง เซกา ศรีวิไล และพรเจริญ รวม 39 ตำบล 312 หมู่บ้าน เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจำนวน 11,262 ราย พื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ 75,345 ไร่ พืชที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ข้าว ปาล์ม ยางพาราและมันสำปะหลัง.

ภาพข่าวไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th/content/516156‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด