LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

กองทัพบก ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ จ.บึงกาฬ

กองทัพบก ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดบึงกาฬ

[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2561/06/25/Mobile/VNOHT610625001029701_25062018_063132.mp4″ poster=”http://www.bungkan.net/wp-content/uploads/2018/06/36176103_2069226573396727_3037633920951648256_n.jpg” width=”530″ height=”315″]

วันนี้ (25 มิ.ย. 61) เวลา 14.00 น. พลเอก พัฒนา มาตร์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และความมั่นคงกองทัพบก พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโชคอำนวย หมู่ที่ 10 ต.ท่าดอกคำ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ โดยมี พันเอก สวราชย์ แสงผล รอง ผบ.พล.ร.3 พร้อมข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ
พันโท วีระวัฒน์ ท้าวพิมพ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบ ที่ 13 และหัวหน้าชุดปฏิบัติการโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโชคอำนวย กล่าวว่า โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านโชคอำนวย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านโชคอำนวย ต.ท่าดอกคำ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ มีราษฎรที่เป็นสมาชิกอยู่ในพื้นที่ 3 อำเภอ (อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ อำเภอรัตนวาปี และอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย) รวมสมาชิกทั้งสิ้น 372 คน ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้ 1.กลุ่มทอผ้าจำนวน 275 คน กลุ่มปักผ้า จำนวน 92 คน และกลุ่มจักสาน จำนวน 5 คน มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ของที่ระลึกที่ผลิตจากผ้าขาวม้า ผ้าไหม ผ้าฝ้าย พร้อมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือที่ทำจากผ้าไหม ผ้าปักรวดลายต่าง ถุงผ้าฝ้ายเอนกประสงค์ ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกจะถูกส่งมอบให้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาคที่ 2 ส่วนแยกที่ 1 นำไปจำหน่ายตามพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ภายในโครงการฯ ยังได้มีศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งมีการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงไก่ และปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในครัวเรือนของตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ต้องการให้ราษฎรในพื้นที่ ได้มีอาชีพเสริม หลังเสร็จสิ้นฤดูทำนา มีรายได้เป็นหลักแหล่ง และช่วยกันอนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ ตลอดจนสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น ให้ดำรงไว้ ส่งเสริมให้ราษฎรมีความรู้ความสามารถในอาชีพที่ตนถนัด และนำวิชาชีพนั้นไปประกอบอาชีพเป็นการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของราษฎรให้เพิ่มสูงขึ้น

จากนั้น พลเอก พัฒนา มาตร์มงคล ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และความมั่นคงกองทัพบก ได้ตรวจเยี่ยมโครงการและการดำเนินงานของสมาชิกในโครงการพร้อมฝากแนวคิดให้กับสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องว่า อยากให้สมาชิกนำความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ สอนให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ซึมซับถึงวิถีที่เราเป็นอยู่ ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา ให้ความสามารถเหล่านี้ตกทอดไปสู่ลูก สู่หลาน พร้อมฝากถึงคณะครูที่มาต้อนรับให้นำเด็กๆ ในโรงเรียน ออกมาเรียนรู้นอกเวลา หาความรู้ในด้านต่างๆ ภายในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ หวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และนำภูมิปัญญาเหล่านี้ไปต่อยอดในการดำรงชีวิต หรือสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งหลังจากตรวจเยี่ยมพบปะสมาชิกกลุ่มโครงการฯ แล้วคณะได้เยี่ยมกลุ่มสมาชิกที่นำสินค้าการเกษตรมาจำหน่าย และร่วมสนับสนุนซื้อสินค้ากับเกษตรกร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจด้วย’>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด