LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

บึงกาฬชาวสวนยางน้อมนำศาสตร์พระราชาทำเกษตรผสมผสานเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางขายเพิ่มรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2560/07/20/Mobile/VNOHT600720001002401_20072017_090824.mp4″ poster=”http://www.bungkan.net/wp-content/uploads/2017/07/20140023_1123836014385254_2416776925731951729_n.jpg” width=”640″ height=”360″]

ชาวสวนยางน้อมนำศาสตร์พระราชาทำเกษตรผสมผสานเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางขายเพิ่มรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
จากสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางไม่น้อย แต่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลคำนาดี ที่ยึดศาสตร์พระราชาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ภายใต้แนวคิดเกษตรผสมผสานที่ประสบความสำเร็จทางด้านผลผลิตและรายได้
นางสำอาง เพ็ญเกตุกรณ์ อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 51 ม.1 บ.คำนาดี ต.คำนาดี อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ที่ทำเกษตรผสมผสานโดยปลูกพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจร่วมกับต้นยาง และเลี้ยงสัตว์ในสวนยางพารา เช่น เป็ด ไก่ ห่าน หมู วัว ขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลูกพืชสวนครัวสำหรับบริโภคในครัวเรือน เช่น ผักก้านจอง ถั่ว พริก แตงกว่า และกล้วย ก่อนที่เหลือจึงค่อยนำออกขาย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพของตัวเอง
นางสำอาง เพ็ญเกตุกรณ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลคำนาดี กล่าวว่า จังหวัดบึงกาฬเกษตรกรส่วนใหญ่มีสวนยางพารา แต่หลายคนก็ปล่อยพื้นที่ภายในสวนยางให้ว่างเปล่า กรีดยางไปวันๆ ไม่ทำอาชีพเสริม พอราคายางตกต่ำก็โอดครวญ ทุกวันนี้ตนเองมีสวนยางพาราอยู่ 15 ไร่หรือ 800 กว่าต้น เดือนหนึ่งรายได้จากการขายยางก้อนถ้วยตกอยู่ที่ 10,000 – 15,000 บาท การทำสวนยางแบบผสมผสานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสามารถตอบโจทย์ได้ ดูตัวอย่างที่สวนแห่งนี้ มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเป็นอาชีพเสริม ขายเป็ดไก่กิโลกรัมละ 100 บาท ไข่เป็ดแผงละ 120 บาท ปลากิโลกรัมละ 80 บาท หลังกรีดยางก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 8,000 – 15,000 บาท จากการจำหน่ายสัตว์เพียงอย่างเดียว มูลของสัตว์ที่เลี้ยงยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยใส่ให้กับต้นยางพาราได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้อีกด้วย
“ก็อยากให้เกษตรกรชาวสวนยางนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการทำสวนยางแบบผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าราคายางพาราจะเผชิญภาวะราคาตกต่ำแค่ไหนก็ตาม”

 

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด